พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7

นำเสนอเรื่องราววิถีชีวิต ของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี นับตั้งแต่หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงเมืองสุพรรณบุรีในอดีต หลักฐานที่แสดงถึงพัฒนาการของเมืองสุพรรณบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวาราวดี ลพบุรี อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เหตุการณ์ยุทธหัตถี กลุ่มชนต่างๆ ที่อาศัยในจังหวัดสุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2538 เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์มานุษยวิทยาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรีและเพื่อสนองแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ได้พระราชทานให้กรมศิลปากรเพิ่มสาขาวิชาการ อื่นๆ ในการจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

การจัดแสดงนิทรรศการ

การจัดแสดงนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี มีลักษณะของการผสมผสานระหว่างการจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ กับสื่อจัดแสดงประเภทต่าง ๆ เช่น หุ่นจำลอง ระบบโสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินในเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างการจัดแสดงเป็นห้องต่างๆ เช่น

  • ห้องบทนำ
    จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรีในอดีต ได้แก่ ข้อความในจารึกหลักต่างๆ ที่กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณบุรี อาทิ ศิลาจารึกหลักที่ 1 สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จารึกลานทองสมัยอยุธยา พบที่วัดส่องคบ จังหวัดชัยนาท และหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น
  • ห้องยุทธหัตถี
    จัดแสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสุพรรณบุรี คือ การกระทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระมหาอุปราชา เมื่อ พ.ศ.2135 ที่เกิดขึ้น ณ ตำบลหนองสาหร่าย

 

This entry was posted in อินเตอร์เน็ต and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.